วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ERP คืออะไร?


ภาพที่ 1 ระบบ ERP

             ในยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น เจ้าของธุรกิจหลายรายต้องดิ้นรนเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ของตน ตลอดจนการสร้างคุณค่าและลดต้นทุนการผลิต การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อช่วยบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นสิ่งที่บริษัทหลายบริษัทให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน หนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญนั่นก็คือ ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร หรือ ERP

ERP (Enterprise Resource Pending)
                ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning ถ้าแปลตรงตัวคือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การบริหารเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
                ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศ ที่องค์กรสามารถนำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร กล่าวคือ ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศในองค์กรที่สามารถบูรณาการ (Integrate) รวมงานหลัก (Core Business Process) ต่าง ๆในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคลเข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยง ณ เวลานั้นทันที (Real Time)
บทบาทของ ERP
                สภาพธุรกิจที่มีขนาดใหญ่และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำสร้างมูลค่าให้กับลูกค้า ของแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้อง ยาวและซับซ้อนขึ้น และเมื่อความเชื่อมโยงของกิจกรรมให้เกิดการเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆขยายใหญ่และซับซ้อนขึ้น ถ้าไม่มีระบบข้อมูลในการจัดการที่ดี โอกาสที่จะเกิดปัญหาในการรับรู้สภาพการเชื่อมโยงของกิจกรรมย่อมทำได้ยาก และผลที่ตามมาคือ ข้อมูลมากแต่ไม่รู้ว่าข้อมูลอันไหนที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจที่จะลงทุนและบริหารทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น ERP ก็คือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในเชิงบริหารที่เกิดขึ้นดังกล่าวอีกทั้งจะช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ในการนำ ERP มาใช้
                - เกิดการปฏิรูปการทำงาน
                - การเพิ่มประสิทธิภาพและความเหมาะสมให้กับกระบวนการทางธุรกิจ
                - การทำให้การบริหารงานได้รวดเร็ว ไวต่อเหตุการณ์
                - การลดลงของค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร
                - เกิดการปฏิรูปการบริหารธุรกิจ 
                - ความสามารถในการรับรู้สภาพการณ์โดยรวมของการบริหารได้แบบเรียลไทม์
                - ความสามารถในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้องค์กรโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด
                - ความสามารถในการตัดสินใจได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
                - เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรมและวิถีขององค์กร
                - การเป็นตัวเองและความกระตือรือร้นของพนักงาน
                - การใช้ความสามารถของพนักงานให้เกิดผลสำเร็จ
                - การใช้ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานในการบริหารองค์กรให้เกิดผลสำเร็จ


ความจำเป็นที่ต้องนำระบบ ERP มาใช้ในปัจจุบัน
  • การขาดการประสานรวมกันของระบบงาน 
              ระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีมาแต่เดิมนั้นได้  ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาในแต่ละ หน่วยงานแยกกันไปโดยมุ่งเน้นให้มีการประหยัดพลังงานการใช้เครื่องจักรแทนคนและการทำให้เป็นอัตโนมัติให้มากที่สุดผลที่ตามมาก็คือระบบข้อมูลสารสนเทศที่สร้างขึ้นมาจะแตกต่างกันไปตามแผนกต่างๆและเป็นเอกเทศต่อกันทำให้เกิดความล่าช้าของการไหลหรือการเชื่อมต่อของข้อมูลระหว่างระบบงานที่ต่างกันซึ่งจะเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถสร้างระบบงานที่รวดเร็วได้
  • การขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของข้อมูล       
                เนื่องจากมีการกระจัดกระจายของข้อมูลอยู่ตามแผนกต่างๆและมีระบบข้อมูลสารสนเทศแยกตามแผนกต่างๆกันทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และการที่จะให้แผนกต่างๆใช้ข้อมูลร่วมกันนั้นเป็นไปได้ยาก  ทำให้เป็นอุปสรรคกีดขวางการทำงานประสานร่วมกันระหว่างแผนก  และทำให้การที่แต่ละแผนกจะใช้ความสามารถของตนเองช่วยกันแก้ปัญหาและบริหารงานอย่างสร้างสรรค์นั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้
  • การขาดความรวดเร็วในการตอบสนอง     
                ระบบข้อมูลที่ผ่านมานั้นข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละแผนกนั้นจะถูกประมวลผลแบบBatch  processing เป็นช่วงๆ เช่น เดือนละครั้ง ฯลฯ ทำให้ข้อมูลของแต่ละแผนกนั้นกว่าจะถูกนำไปใช้ในองค์กรโดยรวมเกิดความล่าช้า ดังนั้นการบริหารที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลสดได้ ณ เวลานั้น   (real time) เพื่อการตัดสินใจได้ทันท่วงที (timely decision) เป็นไปไม่ได้และเกิดขึ้นยากได้

  • การขาดความสามารถด้าน globalization     
                ระบบข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านมานั้น ถูกสร้างขึ้นมาใช้เฉพาะงาน ไม่สามารถรองรับการทำธุรกิจแบบข้ามชาติ และไม่สามารถทำให้กระบวนการทางธุรกิจ เป็นแบบ global ได้  ดังนั้นการใช้ข้อมูลข้ามประเทศเพื่อร่วมงานกันจึงเกิดขึ้นยากผลก็คือ ทำให้การตัดสินใจที่ทันเหตุการณ์ บนพื้นฐานของสภาพความจริงปัจจุบันของการดำเนินการแบบglobalไม่สามารถทำได้

  • ความไม่ยืดหยุ่นของระบบข้อมูลสารสนเทศ      
                ระบบข้อมูลสารสนเทศเดิมส่วนใหญ่จะพัฒนากันขึ้นมาเอง ระบบจึงประกอบด้วยโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ ขาดความยืดหยุ่นในการแก้ไขเพิ่มเติมและดูแลระบบ จึงเป็นการยากต่อการปรับปรุงเพื่อให้สามารถรับมือกับการบริหารเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้


ความเป็นผู้นำ และบทบาทของผู้บริหารต่อการนำ ERP มาใช้

                ความสัมพันธ์ที่บอกถึงสาเหตุที่ทำให้ความเป็นผู้นำของผู้บริหารเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ

                การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาวะแวดล้อมการบริหาร   สภาวะแวดล้อมการบริหารในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก เนื่องจากเป็นยุคของการเปิดสู่โลกกว้าง การเข้ายุคการแข่งขันอย่างรุนแรง และยุคที่การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ

                การเสริมความแกร่งด้านการแข่งขันโดยการปฏิรูปองค์กร การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมการบริหารดังกล่าว ทำให้การปฏิรูปองค์กรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จึงทำให้มีความจำเป็นต้องปฏิรูปการทำงาน ปฏิรูปการบริหาร และปฏิรูปวัฒนธรรมและวิถีขององค์กรด้วย

                การสร้างรากฐานของการปฏิรูปองค์กรโดยใช้ระบบ ERP เพื่อที่จะสามารถปฏิรูปองค์กรให้ได้รวดเร็ว ทันต่อสภาพแวดล้อมการบริหารที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องปฏิรูประบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร โดยการนำระบบ  ERP มา ใช้เป็นรากฐานของระบบข้อมูลสารสนเทศขององค์กร

                ความเป็นผู้นำของผู้บริหาร  การนำ ERP มาใช้ ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศใหม่เท่านั้นแต่เป็นการนำเครื่องจักรขับเคลื่อนการปฏิรูปองค์กรเข้ามาใช้  และการที่จะปฏิรูปองค์กรนั้นคนที่สามารถผลักดันได้ก็มีเพียงแต่ผู้บริหารเท่านั้น    ดังนั้นในการนำ ERP มาใช้ ความเป็นผู้นำของผู้บริหารจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้



ประเด็นปัญหาการนำ ERP มาใช้

  • การปฏิรูปจิตสำนึกอย่างทั่วถึงและเต็มที่นั้นทำได้ยาก
การปฏิรูปจิตนึกให้ทุกคนรู้ว่ามีความจำเป็นต้องปฏิรูปองค์กรนั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่งโดยมีสาเหตุมาจาก
                - การเลิกยึดติดกับประสบการณ์ความสำเร็จในอดีตนั้นทำได้ยาก  ผู้บริหารจัดการและคนทำงานจำนวนมากในปัจจุบันมักยึดติดอยู่กับประสบการณ์ความสำเร็จในอดีตจนส่งผลทำให้เกิดการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปองค์กร ในขณะที่การปฏิรูปองค์กรโดยการนำ  ERP มาใช้จำเป็นต้องปฏิรูปสถานภาพปัจจุบันจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ดั้งนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเลิกการยึดติดกับประสบการณ์ความสำเร็จในอดีต
                - การพัฒนาให้มีจิตสำนึกที่ แข่งขันได้ในระดับโลก  ควรต้องพิจารณาว่ากระบวนการทางธุรกิจที่ใช้ในอดีตนั้น สามารถที่จะแข่งได้ในระดับโลกจริงหรือไม่ ถ้ากระบวนการแบบเดิมไม่สามารถที่จะแข่งขันได้อีกต่อไป ก็จะต้องทำการปฏิรูป   หรือไม่ก็กำจัดออกไป  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนจิตสำนึกกันอย่างจริงจัง
                - ทำลายสิ่งที่ปิดกั้นข้อมูล การนำ  ERP  มาใช้  จำเป็นต้องทำการบูรณาการระบบงานข้ามแผนกข้ามฝ่ายเข้าด้วยกันภายใต้ฐานข้อมูลร่วมกันจึงส่งผลให้การเปิดเผยและใช้ข้อมูลร่วมกันข้ามแผนกข้ามฝ่ายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรวดเร็วขึ้นหากบุคลากรยังขาดจิตสำนึกในการปฏิรูปวัฒนธรรมและวิถีขององค์กรโดยเก็บข้อมูลเอาไว้ภายในแผนกหรือองค์กรเท่านั้นผลที่ตามคือมีการแบ่งแยกข้อมูลเป็นสองส่วนคือข้อมูลภายใน และข้อมูลภายนอกอย่างชัดเจนทำให้การใช้ข้อมูลร่วมกันและโปร่งใสข้ามแผนกหรือองค์กรนั้นเป็นไปได้ยากมาก

  • การทำให้ผู้บริหารเข้าใจ ERP  นั้นค่อนข้างทำได้ยาก
                เป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้บริหารจะต้องเข้าใจว่า การนำ ERP มาใช้นั้นจะทำให้สามารถปฏิรูปองค์กรได้อย่างไรบ้าง และผู้บริหารต้องเป็นแกนนำในการนำ ERP  มาใช้แต่ว่าการทำให้ผู้บริหารเข้า ERP  นั้นค่อนข้างทำได้ยาก  และมักจะไม่เห็นด้วยว่าจำเป็นต้องนำ ERP มาใช้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การทำแผนการและการตัดสินใจเพื่อนำ  ERP  มาใช้โดยมีผู้บริหารเป็นผู้นำเกิดขึ้นได้ยาก

  • ยุทธศาสตร์ของธุรกิจไม่ชัดเจน
           หากผู้บริหารไม่มียุทธศาสตร์ทางธุรกิจที่ชัดเจนแล้ว การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการปฏิรูปโดยการนำ  ERP  มาใช้ก็จะทำได้ยากยิ่งและถ้าปล่อยให้การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการปฏิรูปมีความไม่ชัดเจน กำกวม ก็จะทำให้ไม่สามารถวางแผนแนวคิดในการนำ ERP มาใช้อย่างเป็นรูปธรรมได้และส่งผลให้การนำ ERP  มาใช้ไม่คืบหน้า

  • ไม่สามารถข้ามระบบเก่าขององค์กรได้
          การปฏิบัติงานด้วยการนำ  ERP  มาใช้นั้น  จะต้องไม่ยึดติดกับสถานภาพปัจจุบันของงานที่องค์กรหรือหน่วยงานดำเนินอยู่      และพิจารณาทบทวนตั้งแต่รากฐานจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไม่ยึดติดแม้แต่ประสบการณ์ความสำเร็จในอดีต  ดังนั้นจึงมักจะได้รับการต่อต้านจากภายในองค์กร   ฉะนั้นการปฏิรูปโดยการนำ  ERP  มาใช้นั้นถ้าหากคาดหวังว่าจะเกิดจากการสะสมการปรับปรุงจากระดับล่างโดยพนักงานภายในองค์กรเป็นหลัก  จะทำให้การนำ  ERP  มาใช้ไม่สามารถคืบหน้าไปได้

  • การทำให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด(Optimize)  ทั่วทั้งองค์กรนั้นทำได้ยาก
           การบริหารจัดการโดยการนำ ERP มาใช้นั้น ไม่ใช่การปรับให้มีประสิทธิผลสูงสุดเป็นส่วนๆ    ของแต่ละแผนก/หน่วยงาน แต่จะต้องทำการปรับให้มีประสิทธิผลสูงสุดโดยภาพรวมของทั้งองค์กร และแผนก/หน่วยงาน  นั่นก็คือ จะต้องพิจารณาทบทวนภาระงานและบทบาทของแต่ละหน่วยงาน ดังนั้นในขณะที่สรุปรวมแนวคิดของการนำ ERP มาใช้ อาจจะเกิดการขัดกัน ซึ่งผลประโยชน์หรือเกิดการประทะกันระหว่างแผนก/หน่วยงาน และถ้าหากให้แต่ละหน่วยงานปรับตัวซึ่งกันและกันเองก็จะทำให้ไม่สามารถได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในระดับทั้งองค์กรได้ และทำให้การนำERP   มาใช้ไม่คืบหน้า

  • การใช้ ERP package นั้นไม่สามารถให้ความมั่นใจได้อย่างเต็มที่ 
          การนำ ERP มาใช้นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การใช้ ERP package อย่างไรก็ตามการนำ ERP package สำเร็จรูปจากผู้ผลิตภายนอกมาสร้างระบบสารสนเทศใหม่ที่จะเป็นแกนหลัก ของระบบงานนั้น ซึ่งมักจะได้รับการปฏิเสธจากสายงานและฝ่ายระบบสารสนเทศผลที่ตามมาก็คือผู้ที่เกี่ยวข้องจะยังคงมีความคุ้นเคยและสบายใจที่จะใช้วิธีการพัฒนาในรูปแบบเดิมมากกว่า และหันหลังให้กับการนำ ERP package มาใช้


ที่มา 1. thaiadmin
        2. http://it.egat.co.th/ วันที่ 27 เมษายน 2548










2 ความคิดเห็น:

  1. ทุกคำถาม คำตอบมีในเว็บนี้จ้า http://www.embaconsult.com/

    ตอบลบ
  2. I want to share a testimony on how Le_Meridian funding service helped me with loan of 2,000,000.00 USD to finance my marijuana farm project , I'm very grateful and i promised to share this legit funding company to anyone looking for way to expand his or her business project.the company is funding company. Anyone seeking for finance support should contact them on lfdsloans@outlook.com Or lfdsloans@lemeridianfds.com Mr Benjamin is also on whatsapp 1-989-394-3740 to make things easy for any applicant. 

    ตอบลบ