ระบบคลังสินค้า (Module Inventory)


        การควบคุมสินค้าคงคลังมีความสัมพันธ์กับทุกกระบวนการในระบบ ERP สินค้าคงคลังประกอบด้วยวัตถุดิบสินค้ากึ่งสำเร็จรูป สินค้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนสำรอง และอื่นๆ การควบคุมสินค้าคงคลังที่ทีประสิทธิภาพทำให้ข้อมูลสินค้าคงคลังในระบบ ERP มีความถูกต้อง ส่งผลให้สามารถ ใช้งานระบบ ERP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              กิจกรรมในการควบคุมสินค้าคงคลังประกอบด้วย การรับวัสดุ การตัดจ่ายวัสดุ และการปรับปรุงปริมาณวัสดุในคลังสินค้า การเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลังจะส่งผลกับยอดสินค้าคงเหลืออยู่ตลอดเวลา ในระบบ ERP ยังมีการนับสินค้าคงคลังแบบ Physical Count และ Cycle Count เพื่อทำให้ข้อมูลในสินค้าคงคลังที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ตรงตามจริง
            ในระบบ ERP เราสามรถ เลือกกำหนดระดับการควบคุมสินค้าคงคลังได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่นการกำหนด Lot Serial-Number และ Location ของวัสดุแต่ละรหัสได้ในการรับหรือตัดจ่ายวัสดุจะต้องมีการอ้างอิงอยู่ตลอดเวลา เช่น การรับวัตถุดิบ จะอ้างอิงกับหมายเลขคำสั่งซื้อ การเบิกวัตถุดิบเพื่อไปผลิต จะอ้างอิงกับหมายเลขคำสั่งผลิต การส่งสินค้าจะอ้างอิงกับหมายเลขคำสั่งขาย ทั้งนี้เพื่อให้เรามีความสามารถสอบกลับ (Traceability) สินค้าได้[6]


กระบวนการทำงานของระบบคลังสินค้า

ภาพที่ 4 กระบวนการจัดการคลังสินค้า[5]

  จากภาพที่ 4 สามารถอธิบายได้ดังนี้  Warehouse จะได้รับ Purchase Orders จาก Purchase เพื่อทำการ รอตรวจเช็คสินค้า และรับสินค้า เมื่อ Vendor ส่งสินค้าและ Invoice ให้แล้ว Warehouse ก็จะทำการ  Post PO Receive เข้าไปในระบบเพื่อยืนยันว่าได้รับสินค้าถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็จะทำการออกใบ Good Receive Note (ใบรับสินค้า) เป็น 2 ส่วน โดยที่หนึ่งใบเก็บเข้าแฟ้มเพื่อเป็นหลักฐานในการรับสินค้า ส่วนอีกหนึ่งใบส่งให้ Accounting พร้อมกับ Invoice เพื่อทำการตั้งหนี้



[5]http://ayaz-ahmed.blogspot.com/2011/07/inventory-management-flow.html

[6]course.eau.ac.th/course/Download/0240814/erpdata.doc


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น